Home » ภาพเคลื่อนไหว เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหว

ภาพเคลื่อนไหว เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหว

สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ตากล้องจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง จึงจะสามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวออกมาได้อย่างสวยงามได้ วันนี้ตาแพนด้าจึงมาแนะวิธีการถ่ายภาพเคลื่อนไหวกันค่ะ สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวจะมี2รูปแบบดังนี้

1 การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบหยุดนิ่ง (Stop Action)

การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบหยุดนิ่ง (Stop Action) (200.0mm · ƒ/9.0 · 1/250s · ISO 100)

สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบหยุดนิ่ง(Stop Action) เป็นการถ่ายรูปวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ โดยภาพที่ได้ออกมาจะดูเหมือนว่ามันกำลังหยุดนิ่งอยู่กับที่ อย่างเช่นตัวอย่างภาพด้านบน จะดูเหมือนว่าเป็นรูปม้าแข่งที่กำลังหยุดนิ่ง การถ่ายรูปเคลื่อนไหวแบบหยุดนิ่งในปัจจุน ที่เป็นที่นิยมกัน อย่างเช่น การถ่ายรูปกระโดดให้หยุดนิ่งอยู่กลางอากาศ

สำหรับการถ่ายภาพประเภทนี้ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ อย่างน้อย 1/250 ขึ้นไป เพื่อให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวดูหยุดนิ่งเมื่อถ่ายรูปออกมา

2.การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบพริ้วไหว (Motion)

การถ่ายภาพเคลื่อนไหวอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นการถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้ดูพริ้วไหว ไปตามทิศทางที่มันกำลังเคลื่อนที่อยู่ สำหรับการถ่ายภาพรูปแบบนี้จะทำให้มันดูเบลอๆ แต่เมื่อดูภาพแล้วก็ทำให้รู้สึกได้ว่ามันกำลังเคลื่อนที่อยู่ การถ่ายภาพประเภทนี้ก็อย่างเช่น การถ่ายรูปรถไฟฟ้าที่กำลังวิ่งอยู่ หรือจะเป็นการถ่ายรูปน้ำตก

การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบพริ้วไหว (Motion)
EF85mm f/1.2L II USM
85.0mm · ƒ/1.4 · 1/100s · ISO 320
การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบพริ้วไหว (Motion)
(4.7mm · ƒ/5.6 · 13/10s · ISO 80)

สำหรับการตั้งค่ากล้องการถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบพริ้วไหว(Motion) ควรมีการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่มีความเร็วต่ำๆ ยิ่งต่ำมากเท่าไหร่จะให้ภาพที่เบลอมากเท่านั้น ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆจะทำให้ช่วงเวลาที่ชัตเตอร์เปิดรับแสงเพื่อเข้าสู่เซ็นเซอร์รับภาพนั้นสูง ทำให้แสงนั้นเข้าสู่เซ็นเซอร์รับภาพเยอะ ทำให้ได้รูปภาพแบบเบลอๆ ซึ่งค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆจะเหมาะกับการถ่ายรูปที่ต้องการให้เห็นถึงการเคลื่อนไหว ความเร็วชัตเตอร์ที่ควรตั้งอย่างเช่นความเร็วชัตเตอร์ที่ 30/1s 13/10s 1/13s

Related Posts