Home » ภาพบุคคล เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล(Portrait Photography)

ภาพบุคคล เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล(Portrait Photography)

การถ่ายภาพบุคคล ปัจจุบันที่เป็นความนิยมจะเป็นการถ่ายภาพบุคคลแบบหน้าชัดหลังละลาย วันนี้ตาแพนด้าจะมาแนะนำว่าจะถ่ายภาพบุคคลยังไงให้ออกมาสวยหน้าชัดหลังละลาย โดยจะมีเทคนิคที่จะมาแนะนำดังนี้

1.การตั้งค่ากล้อง

การตั้งค่ากล้องถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้รูปภาพที่เราถ่ายออกมาสวยหรือไม่สวย ซึ่งการถ่ายภาพบุคคลควรมีการตั้งค่ากล้องดังนี้

1.1ค่ารูรับแสง F (Aperture)

ตัวอย่างรูป รูรับแสงกว้าง

ภาพจะสวยหรือไม่สวยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของรูรับแสง สำหรับค่ารูรับแสงจะใช้สัญลักษณ์เป็นตัวF ในการถ่ายภาพบุคคลจะนิยมในการใช้ค่ารูรับแสงกว้าง ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นภาพหน้าชัดหลังเบลอ

Fน้อยๆ=รูรับแสงกว้าง=ภาพชัดตื้น

1.2ทางยาวโฟกัส (Focal Langth)

สำหรับการถ่ายภาพบุคคลแนะนำให้ตั้งค่าทางยาวโฟกัสสูงๆ ยิ่งมีการปรังตั้งค่าทางยาวโฟกัสสูงเท่าไหร่ก็จะทำให้ภาพที่ได้มีฉากหลังที่เบลอมากขึ้นเท่านั้น

2.การโฟกัสดวงตา

ภาพถ่ายโดยPezibear https://pixabay.com

การถ่ายภาพบุคคล จุดที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดของตัวแบบก็คือดวงตา ดังนั้นในการถ่ายภาพสิ่งที่เราต้องโฟกัสมากที่สุดก็คือดวงตา การโฟกัสดวงตาสำหรับกล้องถ่ายรูปบางตัวจะมีการโฟกัสดวงตาให้เราอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้เราถ่ายรูปได้ง่ายขึ้น

3.การถ่ายเฉพาะส่วน/การถ่ายแบบไม่เห็นหน้า

ตัวอย่างภาพ การถ่ายเฉพาะส่วน/การถ่ายแบบไม่เห็นหน้า

การถ่ายเฉพาะส่วนจะทำให้ภาพที่ได้ดูน่าค้นหามากขึ้น ซึ่งรูปที่ได้อาจจะไม่เห็นหน้านางแบบ การถ่ายเฉพาะส่วนจะเป็นการถ่ายภาพแนวบอกเรื่องราว

4.การใช้ฉากหน้า

อีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยให้การถ่ายรูปบุคคลดูสวยงามมากขึ้นก็คือการใช้ฉากหน้า การใช้ฉากหน้าจะทำให้รูปภาพดูมีเรื่องราวมากขึ้น ซึ่งภาพที่ได้อาจจะไม่ได้โฟกัสกันที่ใบหน้า แต่ก็จะทำให้รูปภาพดูสวยงามและหน้าค้นหา

5.ระวังฉากหลัง

ในการถ่ายรูปบุคคลสิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกอย่างหนึ่งก็คือฉากหลัง ระวังฉากหลังที่ไม่พึงประสงค์อย่างเช่น มีคนทำหน้าน่าเกลียดอยู่ด้านหลัง หรือมีเสาปักอยู่กลางหัว

6.การจัดวางองค์ประกอบภาพ

การถ่ายรูปแต่ละประเภทจะเหมาะกับการใช้กฎในการจัดวางองค์ประกอบภาพที่แตกต่างกัน โดยที่การถ่ายภาพบุคคลจะเหมาะกับการใช้กฏในการถ่ายภาพดังนี้

6.1 กฎสามส่วน เป็นการแบ่งพื้นที่ของรูปออกเป็นสามส่วน โดยให้วัตถุที่เราจะโฟกัสอยู่ตรงกลาง แล้วให้ส่วนประกอบอื่นที่เราไม่ต้องการจะเน้นอยู่ระหว่างนั้น กฎสามส่วนมีหลักการง่ายๆ คือการลากเส้นสองเส้น ทั้งแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้โดยทั้งสองเส้นมีระยะห่างจากจุดเริ่มต้นที่เท่ากัน ดังตัวอย่างรูปด้านล้าง กฎนี้จะให้วัตถุที่เราจะโฟกัสอยู่ในตำแหน่งส่วนกลางของภาพ

กฎสามส่วน
กฎสามส่วน

จากตัวอย่างภาพถ้าคุณอยากให้รูปภาพของคุณดูมีเรื่องราวมากยิ่งขึ้น คุณอาจจะลากเส้นสมมุติทั้งแนวนอนและแนวตั้งซึ่งรวมเส้นทั้งหมด 4 เส้น และจุดที่เหมาะสมจะวางตัววัตถุที่เราจะโพกัสมากที่สุดก็คือตรงจุดตัดนั้นเอง การเลือกวางวัตถุไว้ที่ตรงจุดตัดโดยไม่วางไว้ตรงกึ่งกลางทำให้ภาพดูไม่ตัน เวลามองภาพแล้วจะให้เรื่องราวที่ช่างภาพต้องการจะสื่อมากขึ้น และทำให้ผู้มองภาพมองเห็นอย่างอื่นมากกว่าตัววัตถุอย่างเดียว

7.สื่อสารกับแบบ

สื่อสารกับตัวแบบไม่ว่าจะเป็นการคิดท่าร่วมกัน หรื่อทำความเข้าใจในการถ่ายรูปร่วมกันว่าจะให้รูปออกมาแบบไหน และการสื่อสารกับแบบ จะทำให้ตัวแบบหรือนางแบบลดความเกร็งในการถ่ายรูป รู้สึกสบายๆเป็นกันเอง ทำให้รูปที่ได้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

Related Posts