Home » การจัดองค์ประกอบของรูปภาพ

การจัดองค์ประกอบของรูปภาพ

สำหรับใครหลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นในการถ่ายรูป และอยากให้ผลงานการถ่ายรูปของตนเองออกมาดูดีดูเป็นมืออาชีพ บางคนอาจจะยังไม่มีความรู้ในการถ่ายรูปมากนัก วันนี้เราจึงนำความรู้ด้านการถ่ายภาพมาแบ่งปันให้เพื่อนๆมือใหม่ทุกคนค่ะ

หลายคนคงจะสงสัยกันใช่มั้ยค่ะว่าช่างภาพที่ถ่ายภาพกันออกมาสวยๆนั้นเขามีเคล็ดลับอะไรทำไมถึงถ่ายภาพออกมาได้สวยขนาดนั้น  แต่ทำไมภาพที่ตนเองถ่ายดูไม่สวยเลย สำหรับเคล็ดลับการถ่ายรูปอย่างไรให้ออกมาสวยก็มีเคล็ดลับดังต่อไปนี้

1 กฎสามส่วน

เป็นการแบ่งพื้นที่ของรูปออกเป็นสามส่วน โดยให้วัตถุที่เราจะโฟกัสอยู่ตรงกลาง แล้วให้ส่วนประกอบอื่นที่เราไม่ต้องการจะเน้นอยู่ระหว่างนั้น

กฎสามส่วนมีหลักการง่ายๆ คือการลากเส้นสองเส้น ทั้งแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้โดยทั้งสองเส้นมีระยะห่างจากจุดเริ่มต้นที่เท่ากัน ดังตัวอย่างรูปด้านล้าง กฎนี้จะให้วัตถุที่เราจะโฟกัสอยู่ในตำแหน่งส่วนกลางของภาพ

การใช้กฎสามส่วนที่ว่านี้ทำไห้ภาพดูมีมิติมากขึ้น มีความสมดุลในภาพ ดูแล้วให้ความรู้สึกสวยงาม

กฎสามส่วน
ภาพจากคุณ Quangpraha เว็บ pixabay.com

จากรูปตัวอย่างด้านบนสามารถอธิบายหลักการของการใช้กฎสามส่วนของภาพนี้ได้ว่า ส่วนที่หนึ่งคือส่วนบนสุดซึ่งจะเป็นส่วนของท้องฟ้าที่มีสีส้มสวยงาม และส่วนที่สองคือส่วนตรงกลางซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุดของภาพ ซึ่งจากภาพส่วนตรงกลางก็คือเป็นส่วนของวัตถุ ที่ช่างภาพจะเน้นเป็นพิเศษ ซึ่งวัตถุในภาพนี้ก็คือคน และพื้นหลังก็เป็นส่วนที่ตัดกันอย่างพอดีระหว่างท้องฟ้ากับผิวน้ำ  และส่วนสุดท้ายส่วนที่สาม ก็คือส่วนที่อยู่ล่างสุดของภาพ ซึ่งภาพนี้ก็คือภาพของผิวน้ำ

กฎสามส่วน
ภาพจากคุณ SarahRichterArt เว็บ pixabay.com

ถ้าคุณอยากให้รูปภาพของคุณดูมีเรื่องราวมากยิ่งขึ้น คุณอาจจะลากเส้นสมมุติทั้งแนวนอนและแนวตั้งซึ่งรวมเส้นทั้งหมด 4 เส้น และจุดที่เหมาะสมจะวางตัววัตถุที่เราจะโพกัสมากที่สุดก็คือตรงจุดตัดนั้นเอง การเลือกวางวัตถุไว้ที่ตรงจุดตัดโดยไม่วางไว้ตรงกึ่งกลางทำให้ภาพดูไม่ตัน เวลามองภาพแล้วจะให้เรื่องราวที่ช่างภาพต้องการจะสื่อมากขึ้น และทำให้ผู้มองภาพมองเห็นอย่างอื่นมากกว่าตัววัตถุอย่างเดียว

2.เส้นนำสายตา

การใช้หลักการนี้คือเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมหรือวัตถุอะไรก็ได้ ใช้เป็นเส้นนำสายตาที่จะพาเราไปยังจุดมุ่งหมายของภาพ จะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นถนน ต้นไม้ รถไฟ สายน้ำ อาคาร  ตึก ฯลฯ

โดยส่วนตัวคิดว่าหลักการนี้ จะให้ภาพที่รู้สึกเหมือนว่าเรากำลังเดินทาง ซึ่งอยู่ระหว่างทางที่เรากำลังเดินและเราก็มองเห็นปลายทางแค่ภาพลางๆ แต่เราก็จินตนาการออกว่าปลายทางที่เรากำลังจะไปถึงมันเป็นยังไง

เส้นนำสายตา
ภาพจากคุณ strecosa เว็บpixabay.com

จากภาพตัวอย่างด้านบน มีการใช้ถนนเป็นเส้นนำสายตา ถ้าเรามองภาพแล้วเอาตัวเองไปอยู่ในภาพนี้ เราก็เหมือนกำลังหยุดพักในระหว่างการเดินทางแล้วมองเห็นปลายทางที่เรากำลังไปให้ถึง ซึ่งปลายทางที่เรากำลังจะไปให้ถึงก็คือต้นไม้นั้นเอง

เส้นนำสายตา
ภาพจากคุณ Betelgeuse_J เว็บpixabay.com

จากภาพตัวอย่างด้านบน มีการใช้ชานชาลาและรางรถไฟเป็นเส้นนำสายตา ด้วยมุมในการถ่ายของภาพนี้ ทำให้ได้เส้นนำสายตาหลายเส้น  สำหรับตัวเองเมื่อมองภาพนี้ให้ความรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังนั่งอยู่บนรถรถไฟ และกำลังเดินทางไปไหนสักแห่ง ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเส้นนำสายตาที่ใช้เส้นนำสายตาพาคนดูไปยังจุดหมายที่ตนเองต้องการสือในภาพ

3.การให้กรอบภาพ

การใส่กรอบให้กับรูปภาพ เป็นเหมือนการให้ขอบเขตของรูปภาพ โดยที่กรอบของรูปภาพไม่จำเป็นเส้นตรงอย่างเดียวอาจเป็นอย่างอื่นก็ได้

การใส่กรอบให้กับรูปภาพ ภาพจาก steinchen เว็บ pixabay.com

จากตัวอย่างภาพด้านบนการใส่กรอบให้กับรูปภาพทำให้ความรู้สึกและมุมมองในการมองภาพเปลี่ยนไป จากเดิมถ้าไม่มีกรอบก็เป็นเพียงรูปแม่น้ำธรรมดาๆ ไม่มีอะไรน่าสนใจ พอเอากรอบมาใส่ซึ่งในตัวอย่างเป็นหน้าต่างก็ให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังยืนอยู่ริมหน้าต่าง แล้วมองออกไปเห็นแม่น้ำที่สวยงาม

4.ความสมดุล

ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ (Balance) ถ้าจะนิยามคำว่าความสมดุลก็คงสามารถนิยามได้หลายรูปแบบ แต่ส่วนตัวใช้คำง่ายๆในการนิยามคือความเท่าเทียมระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่ง ถ้าพูดภาพรวบแบบหยาบๆเลยก็คือ การเท่ากันระหว่างสิ่งสองสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นจะเป็นการเท่ากันทางด้านน้ำหนัก การเท่ากันทางด้านขนาดรูปทรง ฯลฯ

สำหรับการนำเอาหลักการ ความสมดุล หรือ ดุยภาพ ( Balance ) มาประยุกต์ให้กับการถ่ายรูปนั้นช่วยให้รูปภาพที่ได้ดูสวยงามมากขึ้น

4.1 ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือ ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ

ตัวอย่างภาพที่ใช้หลักการของความสมดุล
ตัวอย่างภาพที่ใช้หลักการของความสมดุล ภาพจากคุณ sasint เว็บ pixabay.com

4.2 ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือน กัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่ เหมือนกัน ใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความสมดุลกัน อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้ การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า หรือ เลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาดเล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา

ดุลยภาพแบบอสมมาตร
ดุลยภาพแบบอสมมาตร ภาพจากคุณ LibelSanRo เว็บ pixabay.com

Related Posts