การถ่ายภาพ ก่อนจะเป็นช่างภาพที่ดีหรือตากล้องที่ดี สิ่งที่ควรจะรู้ก็คือพื้นฐานในการถ่ายภาพว่าควรมีพื้นฐานอะไรยังไงบ้าง ก่อนจะเริ่มถ่ายควรรู้ก่อนว่าการถ่ายภาพที่ดีควรเป็นยังไง เทคนิดการถ่ายภาพให้ออกมาสวยสะดุดตาเป็นยังไง หรือแม้แต่การเลือกกล้องเราก็ควรจะรู้ว่ากล้องที่เหมาะกับเราเป็นแบบไหน และการใช้งานกล้องก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยวันนี้แอดจะมาสรุปพื้นฐานในการถ่ายภาพที่ตากล้องมือใหม่อย่างเราๆต้องรู้กันค่ะ โดยสรุปได้ดังนี้ค่ะ
1. Aperture(รูรับแสง)
รูรับแสงคือเครื่องมือสำคัญของการถายภาพ ที่จะทำให้ถาพถ่ายของเราออกมาสวยหรือไม่สวย ซึ่งรู้รับก็เป็นเครื่องมือที่ตากล้องควรรู้จัก และควรรู้วิธีการตั้งค่าของมันว่าต้องตั้งค่ายังไงถึงจะได้รูภาพที่ต้องการ ซึ่งรูรับแสง ทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณแสง ที่บันทึกลงเซ็นเซอร์ภาพหรือสมัยก่อนก็คือฟิมล์นั่นเอง โดยที่รูรัปแสงจะแบบออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ค่ะ
-รูรัปแสงกว้าง:เช่น F2.5,F3.5,F4 ซึ่งรูรับแสงช่วงนี้จะส่งผลต่อความชัดตื้นของภาพ โดยที่รูรับแสงกว้างจะเหมาะกับการถ่ายภาพดังนี้ คือ ภาพที่ต้องการความสว่างเมื่อแสงเข้าภาพจะสว่าง,หน้าชัดหลังเบลอ,ภาพที่เน้นการถ่ายคนและละลายหลัง,และรูรับแสงช่วงนี้จะถ่ายในที่แสงน้อยได้ดีค่ะ
-รูรับแสงแคบ:เช่นF11,F15,F22 ซึ่งรูรับแสงแคบจะส่งผลต่อความชัดลึกของภาพ โดยที่รูรับแสงแคบจะเหมาะกับการถ่ายภาพดังนี้ คือ ภาพที่ต้องการความชัดเจนทั้งภาพ,ภาพถ่ายวิว,ภาพถ่ายที่แสงน้อย
2. ISO – ความไวแสง
ISO คือ ความไวแสงที่กล้องมี โดยถ้าหากว่าสภาพแวดล้อมที่เราถ่ายรูปมีแสงเยอะเราก็เปิดisoน้อยๆ เพราะว่าแสงมีเยอะอยู่แล้วเราก็ไม่จำเป็นที่ต้องใช้ความไวแสงที่เยอะ ส่วนถ้าหากว่าสภาพแวดล้อมที่เราถ่ายมี่แสงน้อยก็ควรตั้งค่าisoเยอะๆ เพื่อให้ภาพนั้นมีแสงเข้ามาเยอะๆนั่นเองค่ะ
ดังนั้นการตั้งค่าisoเราควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เราถ่ายเป็นหลัก ว่าสภาพแวดล้อมตรงนั้นมีปริมาณแสงมากหรือน้อย
ISO ต่ำ :เหมาะกับการถ่ายภาพที่มีแสงสว่างเยอะ อย่างเช่นการถ่ายภาพในสถานการณ์ดังต่อไปนี้
-การถ่ายภาพกลาง อย่างเช่น ถ่ายภาพนักวิ่งที่กำลังวิ่งอยู่ในสนาม,ถ่ายภาพคนวิ่งเล่นริมชายหาดในเวลากลางวัน
-การถ่ายภาพในพื้นที่ ที่มีแสงสว่างเพียงพออยู่แล้ว
**ข้อดีของการตั้งisoต่ำๆก็คือภาพภาพที่ได้จะออกมาแบบเนียนๆค่ะ
ISO สูง :เหมาะกับการถ่ายภาพที่มีแสงสว่างน้อยๆ อย่างเช่นการถ่ายภาพในสถานการณ์ต่อไปนี้
-การถ่ายภาพในช่วงกลางคืน
-การถ่ายภาพในตัวอาคาร ที่ไม่มีแสงสว่างจากภายนอก
**ข้อเสียของisoสูงๆคืออาจจะทำให้รูปภาพที่ได้มีnoiseสูงค่ะ
3. Focal Length – ทางยาวโฟกัส
ทางยาวโฟกัส หรือพูดง่ายๆก็คือการเลือกใช้เลนส์นั่นเอง โดยที่เลนส์หรือทางยาวโฟกัสจะมีการแบ่งเป็นระยะ โดยแบ่งได้เป็น3ระยะดังนี้
1. มุมกว้าง ระยะประมาณ 50mm ลงมา ส่วนใหญ่ปัจจุบันจะเป็นเลนส์กว้าง
2. ระยะ Normal ระยะ 50mm เป็นช่วงระยะประมาณสายตา ถ่ายง่าย
3. ระยะ Telephoto คือเลนส์ที่มีช่วงซูมมากๆ เหมาะกับการถ่ายภาพไกลๆ
ระยะเลนส์ที่เหมาะสมนั้นอยู่
4. WHITE BALANCE
เป็นค่าที่ช่วยปรับแสงของภาพไม่ให้เกิดความผิดเพี้ยน ซึ่งจะทำการปรับสมดุลแสงสีขาว อันเนื่องจากแสงในธรรมชาติ
ค่าของ White Balance โดยหลักแล้วจะมีอยู่ 8 อย่างด้วยกัน สามารถแบ่งได้ดังนี้
Auto – เป็นค่าที่กล้องมีการคิดให้อัตโนมัติ
Tungsten – แก้สีส้มในภาพโดยใส่สีน้ำเงิน
Fluorescent – แก้สีน้ำเงิน สีเขียวในภาพ โดยใส่สีม่วงลงไป
Daylight – แก้สีฟ้าอ่อน ซึ่งจะเป็นสีที่เกิดจากดวงอาทิตย์
Flash – แก้สีฟ้าอ่อน คล้ายกับ Daylight โดยใส่สีส้ม สีเหลืองเข้าไป
Cloudy – แก้สีฟ้า ที่เกิดจากการมีเมฆ จะมีสีฟ้ามากกว่าปกติ กล้องก็ใส่สีส้มเข้าไป
Shade – แก้สีฟ้า ที่เกิดจากการถ่ายภาพในร่ม ซึ่งอาจจะมีสีฟ้ามากกว่าปกติ
Custom – เลือกปรับเติมสีของ White Balance เอง ในกรณีที่เราเลือกปรับค่า White Balance แล้วแต่สีก็ยังออกมาไม่ตรง
5. COMPOSITION
COMPOSITION หรือ การจัดองค์ประกอบของรูปภาพ องค์ประกอบของรูปก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้รูปหนึ่งรูปสวยหรือไม่สวย การจัดองค์ประกอบของรูปภาพมีกฎต่างๆดังนี้
5.1 กฎสามส่วน กฎสามส่วนมีหลักการง่ายๆ คือการลากเส้นสองเส้น ทั้งแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้โดยทั้งสองเส้นมีระยะห่างจากจุดเริ่มต้นที่เท่ากัน ดังตัวอย่างรูปด้านล้าง กฎนี้จะให้วัตถุที่เราจะโฟกัสอยู่ในตำแหน่งส่วนกลางของภาพ
5.2 เส้นนำสายตา การใช้หลักการนี้คือเป็นการนำเอาสภาพแวดล้อมหรือวัตถุอะไรก็ได้ ใช้เป็นเส้นนำสายตาที่จะพาเราไปยังจุดมุ่งหมายของภาพ จะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นถนน ต้นไม้ รถไฟ สายน้ำ อาคาร ตึก ฯลฯ
5.3 การให้กรอบภาพ การใส่กรอบให้กับรูปภาพ เป็นเหมือนการให้ขอบเขตของรูปภาพ โดยที่กรอบของรูปภาพไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงอย่างเดียวอาจเป็นอย่างอื่นก็ได้
5.4 ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ (Balance)ถ้าจะนิยามคำว่าความสมดุลก็คงสามารถนิยามได้หลายรูปแบบ แต่ส่วนตัวใช้คำง่ายๆในการนิยามคือความเท่าเทียมระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่ง ถ้าพูดภาพรวมแบบหยาบๆเลยก็คือ การเท่ากันระหว่างสิ่งสองสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเท่ากันทางด้านน้ำหนัก การเท่ากันทางด้านขนาดรูปทรง ฯลฯ สำหรับการนำเอาหลักการ ความสมดุล หรือ ดุยภาพ ( Balance ) มาประยุกต์ให้กับการถ่ายรูปนั้นช่วยให้รู้ภาพที่ได้ดูสวยงามมากขึ้น